โรคผิวหนังแมว หากสังเกตุว่าแมวมีผิวหนังด้าน มีอาการคัน ขนหลุดร่วงเป็นหย่อมๆ หรือเกิดอาการอักเสบ ก็เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าผิวหนังมีความผิดปกติ ถ้ามีจุดดำๆ บนผิวหนังก็อาจเกิดจากตัวหมัด ส่วนขนถ้าดูด้านไร้ความมันเงาก็สามารถสันนิษฐานได้ว่าเกิดจากโรคประจำตัว หากแมวเกาบ่อยๆ และผิวตกสะเก็ด ก็เข้าข่ายว่าเป็นโรคผิวหนัง การเอาใจใส่อาการผิดปกติต่างๆ ที่ปรากฎบนผิวหนังจะเป็นประโยชน์และพาน้องไปรักษาโรคผิวหนังแมวได้ทันท่วงที

โรคผิวหนังแมว มีลักษณะอย่างไร

โรคผิวหนังแมว เมื่อแมวมีลักษณะผิวหนังและเส้นขนที่แตกต่างกันตามลักษณะของแต่ละสายพันธุ์ แมวส่วนใหญ่มีขนยาวระดับปานกลางไปจนถึงยาวมาก ซึ่งไม่ได้ทำให้เจ้าก้อนขนปุกปุยเหล่านี้น่ารักน่ากอดเพียงอย่างเดียว แต่ทั้งผิวหนังและเส้นขนยังมีบทบาทสำคัญในกิจวัตรประจำวัน สุขภาพ และการใช้ชีวิตของเจ้าเหมียวด้วย

เมื่อพูดถึงโครงสร้างผิวหนังของแมว ชั้นผิวหนังแท้จะเป็นส่วนที่ป้องกันอันตรายจากภายนอก ทั้งเศษฝุ่นและสารเคมี รวมถึงมีส่วนสำคัญในการควบคุมอุณหภูมิร่างกายเมื่อต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนและหนาวที่รุนแรง

ผิวหนังแมวยังมีบทบาทสำคัญในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย โดยจะรับหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อต่างๆ นอกจากนี้ยังมีรับหน้าที่เก็บสำรองสารอาหาร ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน คอลลาเจน เอนไซม์ และกรดไขมัน ด้วยความสำคัญที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทำให้การดูแลสุขภาพผิวหนังเป็นเรื่องที่เจ้าของไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด

หนึ่งในปัญหาโรคผิวหนังแมวที่พบบ่อยคือปรสิต เจ้าตัวร้ายเหล่านี้สร้างความเจ็บปวดและความไม่สบายตัวให้กับน้องแมว อีกทั้งอาจนำไปสู่ปัญหาขนร่วงและอาการอื่นๆ ที่รุนแรงอีกมากมาย หมัดก็เป็นอีกปัญหาที่พบได้บ่อยเช่นกัน โดยหมัดเป็นปรสิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บนผิวหนัง พวกมันทำให้น้องแมวมีอาการคันและรู้สึกไม่สบายตัว   นอกจากนี้การบาดเจ็บ ความสกปรก และโรคแมวก็นำมาสู่ปัญหาผิวหนังได้เช่นกัน ดังนั้นหากน้องแมวถูกกัดหรือมีบาดแผล แนะนำให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กอย่างละเอียด  แตหากปล่อยทิ้งไว้โรคผิวหนังในแมวอาจเลวร้ายยิ่งขึ้น ขนอาจร่วง สุขภาพย่ำแย่ และอาจมีปัญหาผิวหนังอื่นๆ ร่วมด้วย

ประเภทของโรคผิวหนังแมว

ปัญหาโรคผิวหนังแมวที่พบบ่อยและเป็นปัญหาที่เจ้าของควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

  • สิว

สิวเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในโรคผิวหนังแมว โดยมีสาเหตุมาจากการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและการผลิตเคราตินที่เพิ่มมากขึ้น (เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบบนผิวหนัง) ซึ่งทำให้เกิดรูขุมขนอุดตัน สิวในแมวมักมีลักษณะเป็นเม็ดตุ่มและเป็นสิวหัวดำ โดยจะพบมากในบริเวณใต้ริมฝีปากและคาง ปัญหาสิวอาจทำให้น้องแมวมีอาการคันได้ ส่วนวิธีการดูแลรักษานั้น สามารถรักษาได้ด้วยการใช้แชมพู การประคบร้อน ยาทา หรือยาปฏิชีวนะแบบทาเฉพาะที่ ไม่ว่าจะเป็นแบบครีมหรือเจลก็สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยลดอาการบวมและระคายเคือง ได้ นอกจากนี้การให้อาหารที่มีส่วนประกอบของโอเมก้า 3 จะช่วยให้สุขภาพผิวหนังดีขึ้นและต่อสู้กับปัญหาสิวได้ดียิ่งขึ้นด้วย

  • โรคหิด

โรคหิดเป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยในน้องแมว สาเหตุเกิดจากตัวไรที่ชอนไชลงไปในผิวหนัง ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ การอักเสบ อาการบวม และขนร่วง ทั้งนี้การเกาจะทำให้อาการแย่ลงไปอีก โดยจะทำให้เกิดสะเก็ดแผลและรอยแดง หากพบว่าน้องแมวเกาไม่หยุด ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที เพราะเราไม่สามารถมองเห็นตัวไรด้วยตาเปล่า ต้องมองผ่านกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น ถึงแม้ว่าอาการอาจจะดูร้ายแรง แต่โรคหิดสามารถรักษาให้หายได้ง่ายด้วยการใช้ยาเฉพาะและยากำจัดเห็บหมัด รวมถึงเจ้าของควรเปลี่ยนผ้าปูหรือเบาะนอนให้พวกเค้าใหม่ และควรแยกตัวน้องแมวที่เป็นโรคหิดออกจากเพื่อนเหมียวตัวอื่นด้วย

  • ไรในหู

ไรในหูก็เป็นอีกหนึ่งโรคผิวหนังแมวที่เจ้าของต้องระวัง โดยพบได้ในน้องแมวทุกช่วงวัย แต่อาจพบมากเป็นพิเศษในลูกแมว พวกเค้าจะเกาและเลียบริเวณที่ติดเชื้อเพื่อบรรเทาความทรมาน อย่างไรก็ตามการทำสิ่งเหล่านี้อาจสร้างผลเสียในระยะยาวได้ ดังนั้นจึงควรรีบรักษาอย่างถูกวิธีและเหมาะสมตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งการรักษาอาจเป็นการใช้ยาจำพวกยากำจัดพยาธิหนอนหัวใจ ยาไอเวอร์เมคตินหรือยาฆ่าพยาธิ และยาหยดบนผิวหนัง นอกจากนี้ไรในหูยังทำให้เกิดการอักเสบในหูได้ ซึ่งมักนำไปสู่การติดเชื้อแบคทีเรีย โดยสัตวแพทย์อาจแนะนำให้เจ้าของทำความสะอาดหูด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่เหมาะสมเพื่อช่วยรักษาอาการดังกล่าว

โรคผิวหนังแมว

  • เห็บ

เห็บเป็นตัววายร้ายที่สร้างปัญหาโรคผิวหนังแมวที่รุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่โรคไลม์และโรคบาบีซิโอซิสได้ ปัญหานี้มักพบบ่อยในน้องแมวที่เลี้ยงระบบเปิดหรือเลี้ยงนอกบ้าน โดยเจ้าเห็บจะดูดเลือดน้องแมวเป็นอาหาร โชคดีที่พวกมันมีขนาดตัวใหญ่จึงสังเกตเห็นได้ง่าย หรือจะใช้มือลูบไปตามตัวน้องแมวเพื่อค้นหาก็ได้เช่นกัน การมีเห็บเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพ จึงควรได้รับการรักษาและป้องกันอย่างเหมาะสม โดยสัตวแพทย์มักจะแนะนำให้ใช้ยาหยดกำจัดเห็บหมัดบนผิวหนัง

  • ภาวะภูมิแพ้

ภาวะภูมิแพ้เป็นโรคผิวหนังแมวที่พบได้บ่อยที่สุด เพราะน้องแมวมักจะไวต่อสิ่งเร้าต่างๆ ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรืออาการระคายเคืองได้ง่าย พวกเค้าอาจแพ้สารเคมีที่ใช้ในบ้าน เกสรดอกไม้ หญ้า ฝุ่น หรือแม้กระทั่งอาหาร น้องแมวที่มีภาวะนี้มักจะเลียตัวเองบ่อยผิดปกติ เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด เมื่อพูดถึงดูแลป้องกัน เจ้าของสามารถทำได้โดยการอาบน้ำเพื่อขจัดสิ่งสกปรกอย่างเศษดินเศษฝุ่นออกไป รวมถึงหมั่นสังเกตสัญญาณเตือนของปัญหาอย่างใกล้ชิด

  • อาการขนร่วงจากความเครียด

อาการขนร่วงจากความเครียดเกิดจากการที่น้องแมวต้องเผชิญกับเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน พวกเค้าจะมีพฤติกรรมแปลกไป ซึ่งส่วนใหญ่มักจะแสดงถึงอารมณ์ที่ไม่มีความสุขหรือมีความกังวลใจ แม้ว่าน้องแมวจะเป็นสัตว์ที่อยากรู้อยากเห็น ชอบสำรวจสิ่งต่างๆ แต่การเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมอย่างรวดเร็วก็สร้างความเครียดให้พวกเค้าได้ ซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมเลียตัวบ่อยจนผิดปกติ และผลที่ตามคืออาการขนร่วง หรือขนในบริเวณหน้าท้องและหลังบางลงอย่างเห็นได้ชัด เจ้าของสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาอย่างเหมาะสม โดยส่วนใหญ่จะนิยมใช้แคทนิปหรือกลิ่นฟีโรโมนมาเป็นตัวช่วยคลายความเครียดและความวิตกกังวล รวมถึงพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจสร้างความเครียดให้แก่เจ้าเหมียวด้วย

  • ภูมิแพ้อาหาร

ภูมิแพ้อาหารเป็นสาเหตุเบื้องหลังของปัญหาโรคผิวหนังการติดเชื้อและอาการแพ้ในแมวที่เกิดจากอาหาร หรือจากโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตบางชนิดที่อยู่ในอาหารแมว มักแสดงออกมาในรูปแบบของอาการระคายเคืองบริเวณศีรษะ คอ และหลัง ทั้งนี้น้องแมวต้องการโปรตีนเพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นเพื่อรักษาโรคผิวหนังแมวที่มีต้นเหตุมาจากภูมิแพ้อาหาร การระบุส่วนประกอบที่กระตุ้นให้น้องแมวมีอาการแพ้จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือกำจัดมันออกจากโภชนาการตามปกติของพวกเค้า

  • ฝี

ฝีเป็นปัญหาโรคผิวหนังแมวที่พบได้บ่อยในการเลี้ยงระบบเปิด และอาจพบในน้องแมวบ้านที่มีโอกาสพบเจอน้องแมวเหล่านี้ด้วย ส่วนใหญ่ฝีมักเกิดจากการบาดเจ็บ หรือการกัดและการขีดข่วนจากสัตว์ตัวอื่น โดยน้องแมวที่ยังไม่ทำหมันมีแนวโน้มที่จะได้รับบาดเจ็บในลักษณะนี้สูง ฝีจะทำให้น้องแมวมีอาการคันและรู้สึกไม่สบายตัว รวมถึงทำให้เกิดแผลเปิด ซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อแบคทีเรียและการเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ แผลที่ติดเชื้อแบคทีเรียอาจทำให้เกิดหนองได้ ซึ่งต้องรีบรักษาในทันที การรักษาฝีจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเจ้าของควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

  • การติดเชื้อรา

แมวเหมียวมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อราสูง และเป็นปัญหาโรคผิวหนังแมวที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม การติดเชื้อราเป็นโรคติดต่อที่สามารถแพร่กระจายไปยังมนุษย์และสัตว์ชนิดอื่นได้ จึงควรเตรียมวิธีป้องกันให้พร้อมก่อนทำการรักษาน้องแมวที่ติดเชื้อ ลักษณะอาการสังเกตได้จากรอยแดงรูปร่างกลม หนานูน และแห้งเป็นสะเก็ด รวมถึงจะมีอาการขนร่วงเป็นหย่อมๆ ด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อรา เจ้าของควรทำความสะอาดผ้าปูนอนหรือเบาะนอนของน้องแมวเป็นประจำ อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น การติดเชื้อราจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสม

  • ผิวหนังอักเสบจากโรคต่อมไร้ท่อ

เป็นโรคผิวหนังแมวที่เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน โดยน้องแมวมักแสดงอาการเหล่านี้ ผิวแห้ง ขนร่วง มีอาการคัน และมีสะเก็ดรังแค โรคผิวหนังชนิดนี้ตรวจพบได้ยาก จำเป็นต้องตรวจสอบและวินิจฉัยโดยสัตวแพทย์ อาการฮอร์โมนไม่สมดุลที่ก่อให้เกิดปัญหาผิวหนังสามารถรักษาได้ด้วยการทำหมัน รวมไปถึงการใช้ยาสำหรับใช้ภายนอกและแชมพูทำความสะอาดที่สัตวแพทย์แนะนำ

โรคผิวหนังแมว

สัญญาณเตือนโรคผิวหนังแมวที่พบได้บ่อย

มีหลายปัจจัยและสาเหตุที่ส่งผลให้น้องแมวเป็นโรคผิวหนัง ซึ่งปัญหาผิวหนังแต่ละประเภทก็จะแสดงอาการแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม สัญญาณเตือนของโรคจะช่วยให้สามารถระบุปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และทำให้น้องแมวได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

  • ขนร่วง

อาการขนร่วงหรือขนร่วงเป็นหย่อมๆ เป็นสัญญาณเตือนที่เด่นชัดที่สุดของโรคผิวหนังแมว เจ้าของควรหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของน้องแมวว่ามีจุดไหนขนร่วงจนล้าน รวมถึงแนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เมื่อพบเจอปัญหา

  • อาการคัน

เช่นเดียวกับอาการขนร่วง เป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนที่เด่นชัดและพบได้บ่อย อาการคันที่ผิวหนังมาพร้อมกับการอักเสบ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการระคายเคืองหรือความไม่สบายตัว จนก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียขนมากผิดปกติเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้น

  • บาดแผล

บาดแผลหรือสะเก็ดแผลสามารถบ่งบอกถึงปัญหาผิวหนังที่รุนแรงได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่ควรได้รับการรักษาอย่างทันที โดยเฉพาะบาดแผลเปิดที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย จำเป็นต้องได้รับการรักษาทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพอาจขึ้นตามมาได้

นอกจากนี้ยังมีสัญญาณเตือนโรคผิวหนังแมวอื่นๆ ที่พบได้อย่าง ผื่น ผิวหนังแห้งเป็นขุย ติ่งเนื้อ และเม็ดตุ่ม

การดูแลโรคผิวหนังแมว

หากน้องแมวเป็นโรคผิวหนัง สามารถทำตามวิธีดูแลง่ายๆ เหล่านี้ได้ด้วยตนเองที่บ้าน

  • การแช่ตัวในน้ำชา

เป็นวิธีที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยแก้ปัญหาโรคผิวหนังแมวได้ รวมถึงช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองและอาการคันได้ด้วย โดยสามารถเลือกใช้ชาจากดอกคาโมไมล์ ดาวเรือง หรือชาเขียว ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องคุณสมบัติในการผ่อนคลาย

  • แอปเปิ้ลไซเดอร์ผสมน้ำ

เพื่อบรรเทาอาการคัน ผิวแห้งเป็นขุย อาการแพ้ และผดผื่น สามารถทำได้โดยใช้แอปเปิ้ลไซเดอร์ผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่ว

  • น้ำมันมะพร้าว

เป็นไอเทมยอดฮิตในการดูแลปัญหาโรคผิวหนังแมว เนื่องจากมีสรรพคุณในการต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา รวมถึงสามารถบรรเทาผลกระทบจากการติดเชื้อ ภูมิแพ้ และแมลงกัดต่อยได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัญหาโรคผิวหนังแมวที่รุนแรงจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ ยาใช้ภายนอก ยาทา และยาชนิดอื่นตามคำแนะนำ

ภูมิแพ้ผิวหนังในแมว

แมวสามารถแพ้สารต่างๆ ได้มากมาย คล้ายกับมนุษย์เรา ปฏิกิริยาเหล่านี้จะเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันสร้างแอนติบอดีมาตอบโต้สารก่อภูมิแพ้ ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ คัน และเกิดเป็นปัญหาผิวหนังได้มากมาย สารที่ก่อภูมิแพ้ให้แมวได้แก่

  • การสูดดมสปอร์ของเชื้อรา เกสรดอกไม้ และฝุ่นภายในบ้าน
  • หมัดแมว
  • โรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส ซึ่งเกิดจากสารก่ออาการระคายเคืองมาสัมผัสผิวของแมว อาจเป็นได้ทั้งสบู่ น้ำหอม ผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นในบ้านหรือในสวน สารเคมีต่างๆ ขนนก ผ้าขนสัตว์ รวมถึงปลอกคอป้องกันเห็บหมดบางชิ้นอีกด้วย
  • อาหารบางชนิด

 

ระยะเวลาในการรักษาโรคผิวหนังแมวจะขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างอายุ การใช้ชีวิต และความรุนแรงของอาการ แต่โดยปกติ น้องแมวส่วนใหญ่จะดีขึ้นภายใน 8 ถึง 10 สัปดาห์ หลังจากนั้นสัญญาณเตือนถึงปัญหาผิวหนังก็จะหายไป อย่างไรก็ตาม หากพบว่าน้องเป็นโรคผิวหนังแมว แนะนำให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์ ไม่ควรปล่อยให้น้องแมวจัดการกับปัญหาด้วยตนเอง

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงได้ที่ schiggysboard.com
สนับสนุนโดย  ufabet369