ดอกเบี้ย

คณะกรรมการนโยบายการเงิน มีมติเป็นเอกฉันท์ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยให้มีผลทันที

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจหลายสำนัก ออกมาคาดการรณ์ ต้นปีหน้าจ่อเพิ่มดอกเบี้ยอีก หลังกนง. มีมติขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ด้านเลขานุการ คณะกรรมการ กนง. ได้เปิดเผยถึงเหตุ ที่ต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ย นโยบาย จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ที่เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งนี้ ได้มีภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน เป็นแรงส่งสำคัญของเศรษฐกิจ

ส่วนด้านอัตราเงินเฟ้อ ภาครวมโดยทั่วไปในปี 2566 มีแนวโน้ม ที่จะสูงกว่าประมาณการ โดยที่ครั้งก่อนมาจากราคาพลังงานในประเทศ แต่ยังพอมีแนวโน้ม ลดลงสู่กรอบเป้าหมายในปี 2566 แต่อย่างไรก็ดี ยังคงต้องติดตาม ถึงความเสี่ยงของเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิดกันต่อไป โดยเฉพาะต้นทุนการส่งผ่าน ที่เพิ่มขึ้น และราคาพลังงานในไทย ที่ยังไม่มีความแน่นอน

สำหรับการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยอีก 2 ปีข้างหน้านั้น ธปท. คาดว่าจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 3.2% ส่วนปี 2566 อยู่ที่ 3.7% และปี 2567 เพิ่มขึ้นเป็น 3.9% เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคเอกชน แม้ว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจะทำให้ภาคการส่งออกขยายตัวลดลง

“เมื่อมองไปปีหน้า ดุลบัญชีเดินสะพัดในปีหน้าคาดว่าจะกลับมาเกินดุล พร้อมกับนักท่องเที่ยวที่จะกลับเข้ามา จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามาเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปีนี้ 10.5 ล้านคน เป็นประมาณ 22 ล้านคนในปีหน้า ส่วนปี 2567 จะกลับสู่ระดับปกติ”

มติดังกล่าวเป็นไปตามคาดของสำนักวิจัยทางเศรษฐกิจหลายแห่งคาดการณ์ไม่ว่าจะเป็นศูนย์วิจัย Economic Intelligence Center (EIC) ของธนาคารไทยพาณิชย์ และศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองไปในทิศทางเดียวกันว่า กนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 1.25% ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง

ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องหลังจากในไตรมาส 3 เศรษฐกิจไทยขยายตัวถึง 4.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว ขณะเดียวกันแรงกดดันจากประเด็นด้านค่าเงินนั้นเริ่มมีลดลง หลังจากค่าเงินบาทพลิกภาพมาแข็งค่าขึ้นตามการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ

ดอกเบี้ย

ประเด็นที่จะต้องจับตา

ในการแถลงข่าว นายปิติ ได้ระบุถึงความเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ต้องติดตามในอนาคตอันใกล้ ยังมีอีหลายปัจจัย ประกอบด้วย ประการแรก คือ แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ไม่ว่าจะเป็น ประเทศเศรษฐกิจโลกอาจจะชะลอตัวมากกว่าที่คาด โดยเฉพาะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และชาติยุโรป จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย

และแนวโน้มเศรษฐกิจจีน ที่ยังเผชิญแรงกดดัน จากปัจจัยภายในประเทศ เช่น นโยบายควบคุมโควิด-19 และการเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวเดินทางในต่างประเทศ ประการที่สอง คือ การส่งผ่านต้นทุนของภาคธุรกิจที่อาจจะเพิ่มขึ้น และการปรับราคาพลังงานในประเทศยังมีความไม่แน่นอน ซึ่ง ธปท. ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด คาดปีหน้า ธปท. ทยอยปรับเพิ่มขึ้นอีก

บทวิเคราะห์ของ เจ.พี.มอร์แกน บริษัทบริหารสินทรัพย์ชั้นนำ ที่เผยแพร่รายงาน “Asia Pacific Economic Research” เมื่อวันที่ 21 พ.ย. คาดการณ์ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายในเดือน พ.ย. อีก 0.25% และคาดว่าปรับเพิ่มอีกครั้งในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 อีก 0.50% มาสู่ 1.75%

ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ออกบทวิเคราะห์ในทิศทางเดียวกันว่า ในปีหน้า เส้นทางการปรับขึ้นดอกเบี้ยของกนง. คงขึ้นอยู่กับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ความต่อเนื่องของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงทิศทางการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลาง หลักอย่างเฟดเป็นสำคัญ โดยมีความเป็นไปได้ที่กนง. อาจชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในระยะข้างหน้า

ซึ่งดอกเบี้ยนโยบายของไทยคงไปแตะระดับสูงสุดที่ราว 1.75-2.00% ในปีหน้า ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่มีมากขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ในขณะเดียวกัน แรงกดดันด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะค่อยๆ อ่อนแรงลง ซึ่งคงจะส่งผลให้ธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงเฟดกลับมาให้น้ำหนักต่อความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจมากขึ้น

โดยเฟดคงชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อๆ ไปและอาจหยุดการปรับขึ้นดอกเบี้ยได้ภายในช่วงครึ่งปีแรกของปีหน้า

ชี้เศรษฐกิจไทยอยู่ในทิศทางฟื้นตัว

ในการแถลงข่าวช่วงแรกของ ธปท. นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาคได้เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจในช่วงเดือน ต.ค. ว่า ​เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในทิศทางฟื้นตัว แม้จะได้รับแรงกดดันจากการส่งออกสินค้าที่ปรับลดลง ตามอุปสงค์ประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว และปัจจัยชั่วคราวจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นน้ำมัน

ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมและเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนปรับลดลง ขณะที่เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนลดลงเล็กน้อย แต่ภาคการท่องเที่ยวยังฟื้นตัวต่อเนื่องตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะยุโรปและสหรัฐฯ สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวเดินทางระยะใกล้ เช่น ฮ่องกง และไต้หวัน เพิ่มขึ้นตามการผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทาง

ส่งผลให้กิจกรรมในภาคบริการปรับดีขึ้นต่อเนื่อง นายสักกะภพ ระบุอีกว่า ปัจจัยสนับสนุนกำลังซื้อยังปรับดีขึ้น ทั้งการจ้างงาน รายได้ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค “ถ้าดูในแง่ของตลาดแรงงานยังอยู่ในทิศทางฟื้นตัวในเดือนนี้ การจ้างงานในส่วนผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในระบบประกันสังคมก็กลับไปใกล้เคียงกับช่องก่อนการระบาดของโรคโควิด-19 แล้ว

ในเดือน ต.ค. อยู่ที่ 11.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นราว 0.7% ของเดือนก่อนหน้า” ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงจากเดือนก่อน ตามอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานและหมวดอาหารสดที่ลดลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้นตามดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่ขาดดุลลดลง

ขอบคุณข้อมูลจาก : bbc.com/thai
อ่านต่อได้ที่ : schiggysboard.com